Exclusive Area สำหรับ Member
Sign Up เพื่อเข้าถึงแหล่งรวม Resource ฟรี!

Cringe Attack อาการที่อยู่ ๆ ก็ ”อายแทน” สิ่งที่ตัวเองทำในอดีตขึ้นมาซะอย่างงั้น?!

อยู่ ๆ วันก่อนเพื่อนก็ทักมาถามว่า รู้จักคำว่า Cringe Attack ไหม เราก็เอ๊ะ ไม่เคยได้ยิน ถึงยังไงก็พอเดาความหมายจากคำได้อยู่


เผื่อใครไม่คุ้นคำว่า Cringe

Cringe เอ๊ะ พอจะต้อแปลเป็นไทยนี่มันแปลว่าอะไรนะ ซึ่งพอไป Search ดูคำแปลไทยแล้วรู้สึกว่าขอเอาคำแปลภาษาอังกฤษมาดีกว่า


Cringe = To feel extremely ashamed and embarrassed when someone acts so embarrassing or awkward


ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อย (Popularized) ในยุคการมาของ Social Media


ทีนี้พอเพื่อนผมไปเจอ Terms นี้มา แล้วไม่แน่ใจว่าเป็นอยู่คนเดียวเปล่า เลยมาถามว่าผมว่ารู้จักคำนี้ไหม ซึ่งพอได้ยินเท่านั้นแหละ ผมก็รีบตอบแบบความเร็วแสงว่า เห้ย เป็น! และบ่อยด้วย ไม่ต้องอะไร เวลาอยู่บ้านบางทีคนในบ้านจะงงว่า จู่ ๆ บางทีผมก็ส่งเสียงตะโกนขึ้นมาว่า โว้ยยยยยยยยยยย เวลาอยู่ในห้องคนเดียว ซึ่งเราก็ไม่ได้มีคำอธิบายอะไรกลับไปนะ ว่าจริง ๆ มันเหมือนแว๊บไปนึกเรื่องความบ๊ง ความเสล่อ ความ Awkward อะไรบางอย่างของตัวเองที่เคยทำ เสร็จแล้วก็มีประจุพลังงานบางอย่างที่มันต้องปล่อยออกไปให้ได้ ไม่งั้นจะจุกอกตาย 


ซึ่งไอ้เหตุการณ์ความ Cringe เนี่ยมันบังเกิดได้ทุกวันนะเอาจริง สำหรับผม บางทีแค่พูดอะไรเซ่อ ๆ ซ่า ๆ ในที่ประชุมก็เก็บเอามา Cringe ได้อยู่หลายวัน


ทีนี้พอได้แชร์ปรับทุกข์กับเพื่อนถึงความ Cringe Attack ที่ เห้ย คนอื่นเขาเป็นกันด้วยเหรอ ก็เลยเกิดสงสัยต่อว่าเห้ย เจ้าความรู้สึก Cringe เนี่ยมันเกิดจากอะไรในเชิงวิทยาศาสตร์ แล้วปฏิกิริยาที่ว่าโดน Cringe Attack เนี่ย มนุษย์อย่างเรา ๆ มันมีไปทำไม (ห๊ะ!?)


ซึ่งพอ Research มา เขาบอกว่ารากมันเกิดจากที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเพื่อให้เรา Survive ในสังคมได้ มนุษย์จึงถูกโปรแกรม (หรือถ้าพูดให้เพราะ ๆ ก็คือ เราได้รับเครื่องมือเหล่านี้โดยอัตโนมัติ) เพื่อให้เราเข้าสังคมเก่งขึ้น ว่างั้นเหอะ


ซึ่งมันมี 4 Force ที่ขับเคลื่อน Social Behaviors (พฤติกรรมเชิงสังคม) ของพวกเราได้แก่...

1. Physics/Law of Science

ชั้นแรกคือ มันมีกฏของ Physics ที่ควบคุมสสาร รวมทั้งตัวเราอยู่ ทำให้เราสามารถทำบางอย่าง และไม่สามารถทำบางอย่างได้ เช่น คนเราจะไม่มีพฤติกรรมที่วาร์ปไปคุยกับคนสองคนที่อยู่คนละที่แบบ Face-to-face ได้ ก็เพราะเราวาร์ปไม่ได้ยังไงหล่ะ! หรือ อีกตัวอย่างนึงก็คือ ภูมิอากาศของแต่ละประเทศ ก็อาจจะจะ Shape Social Behaviors ให้แตกต่างกันได้อยู่นะ เช่นประเทศหนาว คนก็อาจจะชอบทักทายด้วยการกอดกัน (อันนี้ฉันเดานะ 555)


2. Law/Legal

ถัดมาคือกฏหมายที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการที่อาจจะบังคับ หรือป้องกันไม่ให้คนทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์ในสังคม เช่นการไปทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าคน อันนี้ห้าม อย่าทำ อย่า Interact กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแบบนี้นะ เข้าใจไหม!


3. Etiquette (มารยาททางสังคม)

ถัดจากกฏหมาย คือก็คือมารยาททางสังคม อันนี้เป็นอีกขั้นนึง ที่ Add เข้ามา On top เพื่อป้องกันไม่ให้เราทำพฤติกรรมง่าว ๆ น่ารำคาญ หรือน่าเหม็นขี้หน้า ที่ถึงแม้จะไม่ผิดกฏหมาย แต่ก็จะทำให้เราโดนสังคมเขา Boycott เอาได้ เช่น การตดในลิฟต์ เอาตูดขมิบเสาบนรถไฟฟ้า หรือทำตัวเสียงดังน่ารำคาญ


4. Self

แล้วพฤติกรรม Awkward อื่น ๆ ที่แสนละเอียดอ่อน ที่มารยาททางสังคมอาจจะเข้าไปประณามไม่ถึงเนี่ยแหละ ที่จะต้องเจอกับปราการด่านสุดท้าย... ก็คือความรู้สึกผิด รู้สึกอาย รู้สึก Cringe ตัวเองนั่นเอง! ซึ่งเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการที่จะช่วยตบหัว (and hopefully ลูบหลัง) เพื่อหวังว่าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรม และไม่ทำอะไรน่าอายที่อาจจะทำให้เราถูกขับออกจากสังคมแบบนั้นในอนาคต



แล้วทำไม Cringe ต้อง Attack?

เขาบอกว่าเวลาเราทำอะไร Awkward หรือ Cringe มันจะไป Activate สมองหลายส่วน และหนึ่งในนั้นก็คือส่วนเดียวกันกับที่เวลาเกิด Physical Pain เอ้า กรรม! คือเหมือนสมองเรายังวิวัฒนาการไม่ทันสังคมมนุษย์ที่มัน Complex ขนาดนี้ มันก็เลยมองว่า เอ้อ  ไม่ว่าเวลาเจออันตรายจริง ๆ หรือตอนไปทำเรื่องน่าอายและเกิดความเสี่ยงที่จะโดนด่า ยังไงก็ให้ใช้ Mode fight or flight เหมือนกันแล้วกันนะ อิอิ


ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเราต้องพูด Public Speaking ต่อหน้าคนเยอะ ๆ หรือทำเรื่องน่าอายเวลาออกเดท ความดันเลือดจะสูง ลมหายใจจะถี่ขึ้น หรือบางรายก็ปวดท้อง เพราะมันคือปฏิกิริยาแบบเดียวกันกับเวลาที่เจอภัยคุกคามแบบอื่น


ซึ่งนี่ก็คงอธิบายถึงปรากฏการณ์ Discomfort ที่เรารู้สึกเวลาคิดย้อนไปถึงเหตุการณ์น่าอายแล้ว Cringe มัน Attack ขึ้นมา


เอ้า แล้วมีวิธีแก้ไหม

จริง ๆ อันเนี้ยต้องถามเพื่อน ๆ มากกว่า ผมว่าแต่ละคนน่าจะมีวิธีแก้ไม่เหมือนกัน แต่ส่วนตัวคือผมว่าการที่เราได้รู้ที่มาที่ไป และพบว่ามันเป็นเรื่องปกติ เป็น Function ปกติที่เราต้องเจอ และเราก็ไม่ได้เป็นคนเดียว (ถึงจะฟังดู Cliché และ Cringe!) แต่ก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นแล้ว และถึงบางทีอาจจะไม่ได้รู้สึกชอบความรู้สึกมันซักเท่าไร แต่อย่างน้อยเราก็ไม่ไปทำให้มันแย่ลงโดยไม่จำเป็น


เขาถึงมีคำกล่าวในพุทธศาสนาว่า “Don’t shoot the second arrow”


ปล.1 เผื่อใครไม่รู้ Don’t shoot the second arrow หมายถึง เวลาเราประสบความทุกข์ อันนั้นคือธนูดอกแรก แต่หลายครั้งจิตใจเราเองเนี่ยแหละ ที่ยิงดอกที่ 2 ใส่ตัวเอง


ปล.2 ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืม Share ให้เพื่อน ๆ ได้นะครับ และก็ฝากติดตาม Product Mixtape ด้วยนะครับ ตอนนี้ผม Explore คอนเท้นหลายรูปแบบ หลายช่องทางเลยครับ สามารถไปตามใน Website, Facebook, Instagram, TikTok, Medium, YouTube, ช่องทาง Podcast ต่าง ๆ เช่น Spotfiy หรือ Apple/Google Podcasts แต่ละช่องทางอาจจะมีคอนเท้นเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกัน ยังไงก็อาจจะเลือกช่องทางที่เพื่อน ๆ ชอบเสพย์เป็นพิเศษก่อนก็ได้ครับ แต่ถ้าตามทุกช่องทางก็จะได้เก็บทุก Easter Egg ครับ ยังไงก็ขอบคุณมาก ๆ ที่ติดตามนะครับ!

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

✈️ Kamin MIT Diary

บันทึกการเดินทางสมัยที่นายคามินเดินทางไปเรียนที่ MIT
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

🧠 The Second Brain

Method สำหรับ Personal Knowledge Management ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

📚 กองดอง Book Review

รีวิวหนังสือแนะนำ

Latest Articles

มีบทความใหม่ทุกอาทิตย์ • ดูบทความทั้งหมด
เลือกดูเฉพาะหัวข้อเหล่านี้