Exclusive Area สำหรับ Member
Sign Up เพื่อเข้าถึงแหล่งรวม Resource ฟรี!

[กองดอง] อ่าน What We Owe The Future

🤔 ขอบเขตความรับผิดชอบของเราในฐานะมนุษย์คนนึงมันจะไปสุดอยู่ตรงไหนกันนะ? วันนี้เราจะมาดูกันใน…

#กองดอง ตอนแรกกับ What We Owe the Future — William MacAskill (ซึ่งดองไว้นานจนลืมเลยซื้อมาซ้ำ 2 เล่ม 555)

เอาหล่ะ หลักๆ เล่มนี้พูดถึง Concept เรื่องการใช้ชีวิต และการตัดสินใจโดยใส่ใจอนาคตมากขึ้น โดยไม่ใช่อนาคตตัวเอง แต่เป็นคนรุ่นหลัง (ซึ่งพี่แกเรียกแนวคิดนี้ว่า Longtermism)

โดยหนังสือเล่าผ่าน thought experiment ที่ว่า…

“Distance in time is like distance in space. People matter even if they live thousands of miles away. Likewise, they matter even if they live thousands of years hence.”

“ถ้าหนึ่งชีวิตที่อยู่ห่างออกไปพันไมล์ มีค่าไม่ต่างกับคนที่อยู่ตรงหน้า แล้วคนที่อยู่ห่างออกไปข้างหน้าพันปีหล่ะ?”

“ถ้าระยะห่างในเชิง Space มันไม่ Matter — งั้น Time ก็เช่นกัน!”

💡 Key Idea:

1. โลกกำลังเผชิญจุดเลี้ยว (ห้ามผวน)

choice หลายอย่างวันนี้จะส่งผลไปถึงชีวิตของคนในอีกล้านปีข้างหน้า คนรุ่นหลังจะสุขสมทุกข์ทนขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำในวันนี้ ไม่ต่างกับความสุขความทุกข์ที่เราประสบ อันเกิดจาก condition อันสืบเนื่องมาจาก choice ของคนรุ่นก่อน

2. สิ่งสำคัญคือเราจะ identify ได้ไหมว่าเรื่องอะไรที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลไปอีกนาน

หนังสือเรียกมันว่า value lock-in ตัวอย่างชัดๆ เช่น ระบอบการเมืองการปกครอง, เรื่องของ AI Alignment ที่ว่าเราอยากจะ shape AI ไปทางไหน, ภาวะโลกรวน, หรือแม้กระทั่งดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ซึ่งมีโอกาสชนโลกประมาณ 2.2% ตอนสิ้นปี 2032 (ใครตามข่าวเรื่องนี้เหมือนผมมั่ง น่ากลัววว 🥹)

สิ่งเหล่านี้เมื่อพลาดเลยจุดนึง ยากที่จะ course correct! เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการมองหา contribution ที่เราทำได้

3. อย่างไรก็ตาม Argument หนังสือเล่มนี้จะ matter ก็ต่อเมื่อเรา ”แคร์” ความเป็นอยู่ของคนในอนาคต

ซึ่งมักจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติเมื่อเรามีลูกมีหลาน หรือบางคนมีลูกมีหลาน แก่จนหัวหงอกแล้วก็ดูเหมือนจะไม่แคร์อยู่ดี 55 อ่าว

เอาหล่ะ ปัญหาคือคนรุ่นผมหลายคนหมดหวังและไม่อยากมีลูก เพื่อนผมหลายคนเลยที่จริงจังเรื่องนี้มาก บางคนกล้าบอกพ่อแม่ บางคนเลี่ยงการสนทนากับครอบครัวด้วยความอึดอัด เพื่อนสนิทผมคนนึงถึงขั้นบอกว่าการดึงเอาอีกชีวิตให้เกิดขึ้นมาบนโลกเป็นเรื่อง immoral ด้วยซ้ำ

พอมานั่งคิดดูดีๆ ถ้าใครที่ค่อนข้างเอียงไปทาง nihilism (สุญนิยม) คงจะรู้สึกน้ำเน่ากับเล่มนี้มาก 555.

เพราะเงื่อนไขสำคัญคือ คุณต้องซื้อแนวคิดคนเขียนในเรื่อง Theory of Population Ethics และ Intuition of Neutrality ก่อน ถึงจะซื้อ key idea ที่กล่าวมาทั้งหมดจากข้อที่แล้วๆ

ซึ่งเหมือนเล่มนี้จะรู้ตัว ก็เลยมีบทที่ถกเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเล่มนี้ก็เล่าอธิบายสนุกดี

(ทั้ง 2 Theory พูดถึง “ศีลธรรม” ในเรื่องการมีลูก และความรับผิดชอบต่อคนใน Generation ถัดไป ไม่อยากพูดเยอะ เดี๋ยวพูดผิด สนใจไปอ่านเอง 55)

🤔 นั่นแหละครับท่านผู้ชม ผมคงจะขอจบ #กองดอง แบบตัดฉับแบบนี้

เอาเป็นว่า หลังอ่านเล่มนี้ คงต้องเป็นคุณแล้วหล่ะที่จะ…

  • ตัดสินว่าจะใช้วันที่เหลือต่อจากนี้อย่างไร
  • จะ consider อะไรบ้างเมื่อต้องตัดสินใจในชีวิต
  • และ ชีวิตของคนในอนาคตมี “ความหมาย” กับคุณแค่ไหน?

ปล. เป็นหนังสือที่อ่านสนุกกว่าที่คิด เพราะเป็นแนวถกปรัชญา มีกราฟ มีนู่นมีนี่ ไม่ต้องเห็นด้วยกับ argument ทุกข้อที่เขาเสนอก็สนุกได้ครับ

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับคิดว่าอย่างไร แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

✈️ Kamin MIT Diary

บันทึกการเดินทางสมัยที่นายคามินเดินทางไปเรียนที่ MIT
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

🧠 The Second Brain

Method สำหรับ Personal Knowledge Management ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

📚 กองดอง Book Review

รีวิวหนังสือแนะนำ

Latest Articles

มีบทความใหม่ทุกอาทิตย์ • ดูบทความทั้งหมด
เลือกดูเฉพาะหัวข้อเหล่านี้