เกริ่นก่อน
พอดีมุกจะบินมา San Francisco ประกอบกับได้บัตรงาน F8 Facebook Developer Conference 2019 มาด้วย เลยตัดสินใจบินไป join
ก่อนวันงาน รีบบึ่งไปสนามบินตอนบ่าย 4 เพื่อให้ทันเที่ยวบินตอน 5:15
และแล้วก็เป็นไปตามกฏธรรมชาติ พอรีบๆทีไร รถก็จะติด แถวตรวจสัมภาระก็จะยาวเป็นพิเศษ แถมพนักงานยังกวนขอตรวจกระเป๋าสองรอบเพราะเจออุปกณณ์ electronic หน้าตาประหลาดๆกับถั่ว pistachio อีกถุงนึง
เจ้าอุปกรณ์นี่ยังไม่เท่าไร แต่ไม่แน่ใจว่าถั่วถุงนี้พิเศษ amazing หรืออย่างไร ฝรั่ง 2–3 คนถึงรุมกัน discuss กันประมาณ 15 นาทีกว่าจะปล่อยตัวออกมาตอน 5 โมงเป๊ะ
พอรอดปั๊บ รีบใส่ตีนผีไปถึงหน้า gate ตอน 5:10!
โถ ดีนะเขายังให้ขึ้นเครื่อง 😅
รอบนี้บินจาก Boston ไป SF ถึงก็ตอนประมาณ 3 ทุ่มเพราะเวลาฝั่ง west coast ช้ากว่า east ประมาณ 3 ชั่วโมง เราเลยเหมือนได้เวลานอนเพิ่ม 3 ชั่วโมงฟรีๆก่อนงานวันรุ่งขึ้น เยส!
บรรยากาศงาน F8
งานจัดที่ McEnery Convention Center ใน San Jose ซึ่งเป็นอาคารไม่ใหญ่มาก ตัวงานมี 2 ชั้นโดยชั้นล่างจะเป็นโซนเปิด มีอาหารและก็เอาไว้จัด After Party
ส่วนชั้นบนมีห้อง conference สำหรับจัด session 5–6 ห้องให้เลือกเข้า โดยแต่ละ session จะยาวประมาณ 15 นาทีไปจนถึง 1 ชม. ตรงกลางมี hall หลักสำหรับจัด keynote ช่วงเช้า ซึ่งอยู่ติดกับ Festival Hall ที่เต็มไปด้วยบูธต่างๆกระจายรอบๆเพื่อให้คนเข้าไปเล่น product demo และก็รับของแจกฟรี
ส่วนตรงทางเดินก็จะมีพวกขนม เครื่องดื่มให้หยิบฟรีตลอดวัน รวมทั้ง AR Poster กระจายอยู่ทั่วงาน สร้างโดย Spark AR โปรดั๊กไฮไลท์ประจำงาน อารมณ์แบบ scavenger hunt นับเป็น gimmick ที่หนุกดี
ส่วนตัวประทับใจมากกว่างาน CES หรือ SXSW ที่เคยไป อาจจะเพราะมันเป็นงานเล็กๆน่ารักๆ ค่อนข้าง self-contained เลยรู้สึกว่าเขาเก็บรายละเอียดดี ไม่รู้สึก overwhelmed จนเกินไป
3 อย่างที่ผุดขึ้นในหัว
คิดว่าคงได้ดู live stream หรือไม่ก็อ่านสรุป keynote จากเว็บสำนักอื่นกันไปหมดแล้วเนอะ ปีนี้ Mark Zuckerberg ย้ำสุดๆว่า “The Future is Private” เพื่อเรียกความเชื่อใจหลังเหตุการณ์ Cambridge Analytica
1. #ทีมคนดี (แต่ Manipulative)
ต้องบอกว่า presentation หรือ experience ในงานทำค่อนข้างดีถึงดีมาก คือหลังจากมางานนี้ก็รู้สึกประทับใจ Facebook ขึ้น 500% รู้สึกว่าเป็นบริษัทที่แบบ culture ดี มี mission เพื่อ make the world a better place จนแทบอยากจะยื่นใบสมัครงานเลยทันที
แต่อีกส่วนนึงก็รู้สึกว่า ก็ต้องเตือนตัวเองคล้ายๆเวลาเราดู BNK48 คือถึงแม้ความรู้สึกเราจะเป็นไง แต่ก็ต้องรู้เท่าทันด้วยว่าบริษัทเขาพยายาม manipulate เรายังไงบ้าง ถ้ารู้แล้วเราโอเค ก็โอเค
ระหว่าง session พอสังเกตดู เวลา Facebook กล่าวถึง mission ว่าต้องการจะ connect community ให้คนที่สนใจในสิ่งเดียวกันได้คุยกัน พร้อมรูปหรือวิดีโอประกอบที่เต็มไปด้วยคนหลากเชื้อชาติ having a good time together หรือทำกิจกรรมต่างๆด้วยกันไม่ว่าจะเป็นทำอาหาร เล่นโยคะ hang out
…ไม่มีคนเล่น Facebook หรือมือถืออยู่ในนั้นเลย
มันคือโลก Utopia ที่ Facebook พยายามสร้าง narrative ขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองเป็นพระเอกในขณะที่โลกแห่งความจริง Facebook ไม่เคยกล่าวถึงด้านมืดที่ Social Media สร้างขึ้นมา
หรือแม้กระทั่ง key message ที่บอกว่า “The Future is Private” พร้อมกับพยายามชู private groups, closed friends ขึ้นมาเป็นหัวใจ
ถามว่า Private กับ Privacy เหมือนกันไหม
ถามว่า Facebook จะไม่เอาข้อมูลที่เราคุยใน Private Group หรือซื้อของบน Instagram ไปใช้ในการโฆษณารึเปล่า ก็ไม่ใช่
เพราะงั้นหลังฟัง ผมว่าสำคัญคือเราต้องตระหนักว่าเขาต้องการจะ manipulate หรือ influence เรายังไงบ้าง แล้วเราคิดว่ายังไง
Private ≠ Privacy นะจ๊ะ
2. Interoperability คือ Super Weapon ในแผนการยึดครองโลก
ถ้าจำไม่ผิด ในหลาย session เขาได้กล่าวถึง vision ว่าทุก platform (Facebook, FB Messenger, Instagram, WhatsApp) จะสามารถคุยข้าม platform กัน หรือ stories จากบน platform นึงอาจจะไปโผล่อีกบน platform ได้
ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นและรู้สึกว่า Facebook โคตรฉลาดเลย คือมันเป็นการเดินเกมคล้าย “Mega App” แบบ WeChat, Grab, Line ที่รวม social media, video, messaging, shopping, ride, etc. เข้าไว้ในที่เดียว และค่อนข้างจะถูกจริต Asia แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เหมือนซะทีเดียว
เพราะฝั่ง U.S. อาจจะด้วย culture อะไรบางอย่าง เขามักจะแยก app เป็นตัวๆ ตัวนึงทำหน้าที่อย่างเดียวพอเพื่อให้เข้าใจง่ายในแง่ UX (เหมือนที่ FB Messenger เคยแยกตัวจากแอพ Facebook)
ไอเดียของ Interoperability เลยเป็นเหมือน Game Changer สำหรับเรา คือในฝั่ง user จะเล่นแค่ Instagram เพราะชอบดูรูปลง stories หรือจะเล่นแค่ Facebook เพราะชอบส่อง group ต่างๆ หรือจะเล่นแค่ FB Messenger เพราะแชทกับเพื่อนอย่างเดียว ก็ไม่ว่ากัน ทำให้ user สามารถเลือกตามพฤติกรรม หรือ UX ที่ตัวเองชอบ
เพราะยังไงๆ ทุก platform ก็อยู่ในเงื้อมมือของ Facebook อยู่แล้ว (ทำอะไรบนไหน Facebook รู้หมด) และทุกคนก็จะสามารถคุยกัน cross platform เสมือนอยู่บน platform เดียวกันอยู่ดี
3. Design Culture เฉพาะตัว
เราว่า Design culture ของ Facebook ค่อนข้างจะถูก overshadowed โดย Engineering Culture ทำให้คนไม่ค่อยนึกถึง Facebook เท่าไรเวลาพูดถึงบริษัทที่ดังเรื่อง Design
แต่ในงาน F8 นี้จะเห็นว่า Facebook เริ่มมี Visual Design Language ที่ชัดเจนขึ้นมาก และเนื้อหาใน session ต่างๆก็ค่อนข้างจะสะท้อนความ unique ของ Facebook ที่เน้นการ Design for Scale ต่างจากบริษัทอื่นๆที่ดังเรื่อง Human-centered Design เช่น AirBnb ที่อาจจะเน้นไปที่ user research, empathy เทือกๆนั้น (อันนี้จากการที่เคยไปเยี่ยม AirBnb HQ และก็ hangout กับ designer จาก AirBnb)
Facebook มี product team ย่อยๆเต็มไปหมดที่ดูแลเฉพาะส่วน เฉพาะหน้า ซึ่ง Facebook ทำตัวเหมือนเป็นเครื่องจักรที่มีชิ้นส่วน autonomous components เต็มไปหมด แต่ละชิ้นส่วนก็ ship อะไรไม่รู้ตลอดเวลา ในหลาย session เขาชอบเล่าเหตุการณ์ที่ว่า หลายครั้ง team นึง design ให้มีปุ่มไว้ตรงนี้ กลับมาอีกอาทิตย์นึงปุ่มหายไปเพราะอีกทีมนึง push design อื่นขึ้นมาแทน
ถามว่าเป็นปัญหาไหม ก็คงเป็น แต่ก็ต้อง strategy ที่ว่า
- พยายามทำ design system ให้ up-to-date รวมทั้งมอง design system เป็นเหมือน living organism ที่พร้อมจะเปลี่ยนตลอดเวลา และ keep ทุกคนอยู่ใน loop
- พยายามให้ทุกคน utilize design system ให้มากที่สุด
- Design fast, push fast, test fast, and iterate fast
สุดท้ายนี้
สุดท้ายนี้ค่อนข้างประทับใจมาก เรียกว่าไม่เสียดายเงินเลย และก็ไม่ได้จะบอกว่า Facebook ชั่วร้ายอะไร แต่ให้เข้าใจว่า Facebook คือ media/advertisment company ที่อยู่ได้ด้วย attention ของผู้ใช้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการจะทำดี (ตราบเท่าที่ความดีนั้นไม่ขัดกับผลประโยชน์หลักของบริษัท)
พวกเราไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ใช้หรือ developer ที่อยู่ในเกมของเขาจึงต้องเข้าใจเกมด้วยถึงจะดี
Session ที่เราเข้าไปฟัง
นอกจาก keynote แล้วเราได้มีโอกาสเข้า session อยู่หลายอันดังนี้
- Creativity Rules — Mobile First Creative
- Introduction to Machine Learning for Developers
- Mobile Innovation with React Native, ComponentKit, and Litho
- Spark AR Creators Roundtable
- AR Music
- Pro Tips for Creating in Spark AR Studio
- Developing and Scaling AI Experiences at Facebook with PyTorch
- Spark AR for Places and Spaces
- Spark AR for Shopping
- How to Build for People to Help Your Product Grow
- Data for Good: Facebook Disaster Maps