ผมไปฟังคลิปของคุณ Lisa Feldman Barrett ซึ่งเป็น Professor of Psychology ที่ Northeastern University พูดจั่วหัวว่า
Emotion (อารมณ์) ≠ Feeling (ความรู้สึก)
แล้วรู้สึกว่าโดน Hook เอ๊ะมันยังไง เพราะภาษาไทย 2 คำนี้มันเกือบจะเป็นคำเดียวกันแล้ว (i.e., อารมณ์ความรู้สึก) พออยากรู้ก็เลยฟังจนจบแล้วรู้สึกว่าดีมากซะจนอยาก Share
ปล. นักวิทยาศาสตร์ยังเสียงแตก และอธิบาย Definition ของคำว่า Emotion แตกต่างกันไป แต่กระนั้น ทุกคน Agree ถึงการมีอยู่ของ Emotion ในมนุษย์ (ก็แหงสิ!)
เข้าเรื่อง… ปกติ [สมอง] ของเราจะทำหน้าที่ควบคุม และ Coordinate สิ่งต่างๆ ใน [ร่างกาย] ส่วน [ร่างกาย] ก็จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นสัญญากลับไปยัง [สมอง]
ซึ่งข้อมูลที่ว่ามันเป็น Low level เช่น Metabolism ระดับ Oxygen ระดับกลูโคส อะไรก็ว่าไป ซึ่งแน่นอนว่ามันดีเทลเกิ๊น! (คงไม่มีใครที่รับรู้และ Aware ถึงระดับสารเคมีอะไรพวกนี้ในร่างกายตลอดเวลาหรอกใช่ไหม)
ทีนี้ พอ [สมอง] ได้รับ Info ยิบย่อยพวกนี้ ก็จะทำการ “สรุป (Summarize)” เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายๆ ออกมาเป็น Feeling (ความรู้สึก) เช่น รู้สึกดี ไม่ดี พอใจ ไม่พอใจ ตื่นเต้น หรือนิ่งๆ เป็นต้น
พูดง่ายก็คือ สมองมันสรุปความเป็นอะไรที่เข้าใจง่ายๆ แทนที่เวลาโดนขับรถปาดหน้า แล้วเราจะรับรู้ของระดับ Hormone ความเครียดอย่าง คอลติซอล ที่เพิ่มขึ้น 200% …สิ่งที่เรารับรู้คือความยั๊วะ! ซึ่งเป็นการสรุปออกมาในรูปของอารมณ์
ทีนี้เวลามันสรุปเนี่ย ถามว่าข้อสรุปของแต่ละคนทำไมถึงไม่เหมือนกัน เวลาเจอเหตุการณ์เดียวกัน บางคนมองว่ามันตลก ส่วนบางคนกลับร้องไห้ ก็เพราะในแง่ของอารมณ์ สมองของเราจะสรุปการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่อตัวกระตุ้นโลกภายนอกในรูปของสรุปที่เข้าใจง่ายอย่าง “อารมณ์” โดยอาศัยความรู้ หรือ Data ที่เก็บมาจากในอดีต เพื่อ Predict อารมณ์ ความรู้สึก หรือว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น ซึ่งทั้งหมดนี่มันทำงานแบบอัตโนมัติ
เราเลยรู้สึกว่า “อารมณ์” มันเป็นเหมือน Reaction ต่อโลกภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบที่บางทีก็คุมไม่ได้ ไล่ไม่ทัน
Lisa ยังยกตัวอย่างถึงอย่างเวลาคนรู้สึก Depressed แล้วรู้สึกเหนื่อย ไม่อยากลุก เพราะสมองรู้สึกว่าระดับ Metabolism ในร่างกายกำลังมีปัญหา จึงเหมือนกับพยายามตัดงบเพื่อ Save พลังงาน ประมาณนั้น ซึ่งบางครั้งการแปลความของสมอง อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ (คือไม่ได้บอกว่า Depression มันไม่จริง แต่แค่บางทีมันก็อยู่ที่สมองแปลความ ซึ่งมันมาจากการข้อมูลที่เราเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัวด้วย)
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็เพื่อที่จะได้เข้าใจ “เครื่องมือ” ที่เรียกว่าสมอง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการแปล Sensory Information ยิบย่อยจากร่างกายที่มันละเอียดเกินไป ให้กลายเป็น Emotion หรือ อารมณ์ ที่แบบ Efficient สุดๆ อารมณ์แบบ มีอะไรเกิดขึ้นปุ๊บ รู้สึกปั๊บ!
โดยมันจะแปลแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเรา
ผมชอบที่ Lisa จบด้วยการบอกว่า ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ที่เราอาจจะยังพูดไม่ได้ ณ วันนั้นเราอาจจะไม่ได้มีอำนาจ รวมถึงความรับผิดชอบในการ Train สมองขนาดนั้น ว่าเราควรจะรู้สึกยังไง เวลาที่เจอเหตุการณ์ หรือตัวกระตุ้นแต่ละอย่าง ส่วนมากอยู่ที่สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู
แต่เมื่อเราโตเป็น Adult แล้ว อำนาจจะเริ่มอยู่ที่คุณมากขึ้นว่าจะเริ่มเติมประสบการณ์ ความรู้สึกแบบไหน มองโลกแบบไหน เสมือนเป็นการเติม Training Data ใหม่ๆ เข้าไปใน Machine Learning Model และพยายาม Supervise ในทางที่คุณอยากให้เป็นมากขึ้น ซึ่งมันก็ค่อนข้างไปทางเดียวกันกับงานวิจัยหลายๆ ชิ้นที่ว่า
ความสุขสมหวังในชีวิต ขึ้นอยู่กับวิธีการมองโลกหลายส่วนนัก!