อาทิตย์ก่อนเพิ่งอ่าน Keep Going: 10 ways to stay creative in good times and bad โดย Austin Kleon ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่ 3 จากซีรี่ย์ Steal like an artist โดยใครที่เดินเข้าออก Kinokuniya ก็น่าจะคุ้นหน้าค่าตากันมาบ้าง
ระหว่างอ่านก็พบว่ามันช่างคลิ๊กกับช่วงเวลาที่ตัวเองกำลังอายุ 27 พอดี๊พอดี เชื่อว่าเพื่อนๆที่ความแก่ใกล้กันน่าจะเริ่มคุ้นชินกับความรู้สึกที่ว่า เออ การจะ keep going มันไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน เราเริ่มค้นพบว่าในสังเวียนโลกความจริงมันไม่ simple อย่างที่เราคิด เราเริ่มค้นพบ limitation ของตัวเอง เริ่มรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราอยากทำหรือไม่อยากทำ แต่หนทางมันก็ไกลเหลือเกิน
เออ เลิกเพ้อเหอะ 555
หนังสือเล่มนี้เขียนแบบอ่านง่ายๆโดย hybrid ระหว่าง how to เป็น stepๆ กับ reflection ของตัว Austin Kleon เองซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นนักเขียน (เออ ก็แหงสิ) นักวาดภาพประกอบของ New York Times
เนื้อหาหลักๆ 10 ข้อมีดังนี้
- Every day is groundhog day
- Build a bliss station
- Forget the noun, do the verb
- Make gifts
- The ordinary + extra attention = the extraordinary
- Slay the art monsters
- You are allowed to change your mind
- When in doubt, tidy up
- Demons hate fresh air
- Plant your garden
วันนี้ขอเล่าเจาะเฉพาะข้อที่เราโดนเป็นพิเศษ 1 ข้อละกัน
4. Make gifts
โดยเนื้อหาใจความสำคัญกล่าวถึงการทำสิ่งที่เรา passionate โดยที่อย่าไปแคร์เรื่องเงินหรือยอด like ให้มากนัก ซึ่งฟังดูก็ cliché จัง
แต่แล้วก็ไปเจอท่อนนึง ซึ่งเขาอ้างถึงหนังสือ The Gift โดย Lewis Hyde จึงขอ quote มา ณ ที่นี้
In his book The Gift, Lewis Hyde argues that art exists in both gift and market economies, but “where there is no gift, there is no art.” When our art is taken over by market considerations — what’s getting clicks, what’s selling — it can quickly lose the gift element that makes it art.
We all go through cycles of disenchantment and re-enchantment with our work. When you feel as though you’ve lost of you’re losing your gift, the quickest way to recover is to step outside the marketplace and make gifts (for others).
พออ่านตอนแรก ถึงกลับต้องอ่านซ้ำอีก 2–3 รอบว่ามันแปลว่าไรฟะ 555
ย้อนกลับมาดูตัวเองก็พบว่าเนี่ยแหละ คือสิ่งที่เราหาคำตอบ เพราะหลายครั้งสิ่งที่เราทำได้ดี หรืองานที่เราสร้าง กลายเป็นเรากลับลืมมองคุณค่าของสิ่งที่เราทำ ยิ่งเมื่อมันเป็นงานที่ทำทุกวันๆ มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง มีตัววัดภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง กลับทำให้เราลืมความรู้สึก ณ วันแรก ว่าเราเคยรักงานที่เราทำแค่ไหนไปซะดื้อๆ
ส่วนตัวเราว่า art ในที่นี้ไม่จำเป็นจะต้องหมายถึงศิลปะอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึงอะไรก็ตามที่เรา passionate และยึดถือว่ามันเป็น “craft” เช่น การทำธุรกิจ sales หรืองานเขียน
สุดท้าย Gift ที่เขาหมายถึงอาจจะไม่ใช่ของขวัญแก่คนอื่น
…แต่เป็นของขวัญแด่ตัวเองในวันที่อ่อนล้า เพื่อที่เราจะยังมีแรง “Keep Going” ต่อไป