Exclusive Area สำหรับ Member
Sign Up เพื่อเข้าถึงแหล่งรวม Resource ฟรี!

หนอย อย่าไปยอม — Integrated Design Innovation 24 Hr Challenge ณ UPenn

Kamin MIT Diary #5


“ยินดีด้วย คามิน คุณได้รับรางวัลไปแต่ตัวทัวร์ยกแก๊ง มุ่งตรงสู่ UPenn (University of Pennsylvania) เพื่อเป็นตัวแทนจาก MIT idm ไปแข่ง Integrated Design Innovation 24 hr Challenge”

เปล่าหรอก จริงๆคือไปกันหลายคน และก็ไม่ได้รางวัลอะไรด้วย

ซึ่งด้วยความที่ยุ่งขั้น max เลยเพิ่งจะมาเริ่มจองตั๋ว 3 วันก่อนไป (ขอขอบพระคุณมาดามทองอยู่ ผู้คอยช่วยจัดการตารางชีวิตจากฟากไทยและเป็นผู้หาตั๋วมา ณ ที่นี้ด้วย)

และแล้วก็ถึงเช้าวันบิน ด้วยความที่เมื่อคืนประชุมงานดึกถึงตี 2 + มัวแต่เม้ามอยไร้สาระกับมุกจนนอนตี 3

ตื่นสายเลย… กว่าจะออกจากห้องก็ 10 โมงแล้ว

ถึงสนามบินนี่หน้าเริ่มตั้ง รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่านกับอากัปกิริยาของพนักงานที่มันดูช้าไปหมด

ความปวดตับมันเริ่มทวีคูณ ณ ตอนตรวจสัมพาระเพราะไอ้คนข้างหน้ามันดันไม่ยอมเอาคอมออกมาจากกระเป๋าตอนผ่านเครื่อง ทำให้โดนเรียกแล้วช้าไปอีก ฮ่วย

พอผ่านมาได้

โว้ยย เหลืออีก 5 นาทีเครื่องจะออกแล้ว!

ใส่ตีนหมา โกยแนบไปถึง Gate ตอน 10.58 ซึ่งก็หลงดีใจว่าน่าจะรอด

แต่เมื่อมองไปที่หน้าต่าง ภาพข้างหน้าเหมือนเห็นเครื่องบิน take off ไปแล้วซึ่งก็ภาวนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์สากลโลกว่าอย่าให้เป็น fight กรู…

แต่แล้วแม่งงงง… นั่นไง น่าจะเดากันได้

“ตกเครื่องครับ”

เจ๊คนเฝ้าเกทก็ทั้งดุ ทั้งเทศน์ใส่อีก หน้าฉันจะร้องไห้อยู่ละ ณ จุดๆนั้น

แต่เห้ย ปรากฏว่าเจ๊แก้ไปปริ้นตั๋วให้ใหม่ เป็นเที่ยวบิน 12:15 แทน

โอ้ยยยยยยยย plot twist

ผมรักเจ๊ครับ

การบินจาก Boston ไป Philladephia เป็นอะไรที่ชิวมากเพราะใช้เวลาแค่ 1 ชม. เท่านั้น ก็หมดตังค์ไป $300 แล้ว (เดชะที่ MIT idm จ่ายให้หมด)

พอไปถึงก็บึ่งไปที่โรงแรม Crowne Plaza ซึ่งอยู่ห่างกับ UPenn ประมาณ 40 กว่านาที ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมาจองอะไรไกลขนาดนี้ พอเอาของไปเก็บเรียบร้อย เราบ่นกระปอดกระแปดกับเพื่อนว่า โอ้ย หิวจังเลย หิวจังเลย

คุณ Fahad เลยพาไปแวะกินอาหารอินเดีย

ซึ่งด้วยความครึ้มใจอะไรซักอย่างเลยสั่ง นมอินเดียที่ชื่อว่า Chaas ที่เพื่อนๆอินเดียมันบอกว่าอร่อยหนักหนา ทั้งเค็มทั้งมัน
เอาเด้ ไอ้เราก็ยิ่งชอบกินนมอยู่แล้ว เค็มมันยิ่งสะใจ พอกระดกเข้าไปสะใจไม่ออก เพราะมันเป็นนมใส่เกลือ พริกไทย ขิง และเครื่องเทศอื่นๆมากมายที่ไม่ประสงค์เอ่ยนาม

หลังจากดื่มไปอึกนึงก็เริ่มอยากเป็นคนมีน้ำใจ เลยเก็บไว้ให้เพื่อนคนอื่นๆลองชิม

พอหลอกใครให้กินสำเร็จได้ ทุกคนก็หัวเราะชอบใจ ขอตั้งชื่อว่า นมขายหัวเราะ

ขอแนะนำให้ไปลองกันได้

กลับมาที่ Challenge ต่อ

การรวมตัวครั้งนี้เป็นหนึ่งใน Movement ของชาว Integrated Design Innovation จาก UPenn, MIT, CMU (Carnegie Mellon University), Northwestern

ซึ่งไอ้คำว่า Integrated Design Innovation ก็เป็นคำที่พวกเราตั้งขึ้นมาใหม่เก๋ๆ ใช้เรียกกลุ่มคน Multi-disciplinary ที่ใช้ความสามารถทั้งทางด้าน Design, Engineering, และ Business แก้ปัญหา

เผื่อเวลาไปอธิบายว่าตัวเองทำอะไร คนจะได้เข้าใจง่ายๆเหมือนอารมณ์แบบ ฉันเป็นหมอจ่ะ ไรงี้

หลังจาก Ice breaking เรียบร้อยก็โดนจับเข้ากลุ่มพร้อมรับฟังโจทย์

โจทย์ที่เราจะต้องคิด solution เป็นปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับ ครอบครัว แพทย์ คนดูแล และผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการเพ้อเลอะเลือน (Delirium) ซึ่งเป็น side effect มาจากการผ่าตัด

จะทำยังไงให้ environment ในโรงพยาบาลสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการดูแลผู้ป่วย Delirium ได้บ้าง

หลังจากฟังอาจารย์แพทย์พ่นศัพท์แสงอลังการที่ต่อให้เป็นภาษาไทยตูยังแทบจะไม่รู้เรื่องเลยใส่ เราก็โดนโยนพวกบทความ บันทึกการสัมภาษณ์ทั้งแบบรายลักษณ์อักษรและวิดีโอใส่

คืนนั้นอ่านจนถึงดึกจนกูแทบจะเลอะเลือนตามผู้ป่วย

ยังไม่จบ ตอนเช้านัด 8.30 โอ้โหย แทบร้อง ระหว่างอยู่บนรถนี่นึกบ่นคนจองโรงแรมในใจไปตลอดทาง

พอไปถึงเริ่มลุยกันต่อ ด้วยการเข้าไปดูสภาพแวดล้อมห้องผู้ป่วย และห้องนั่งรอของญาติในโรงพยาบาล

ด้วยเวลาที่รัดติ้ว เราไม่มีเวลามากนัก เลยได้สัมภาษณ์ อาจารย์แพทย์ ญาติผู้ป่วย และ Researcher คนละ 10 นาที ซึ่งยอมรับเลยว่ารู้เรื่องครึ่งไม่รู้เรื่องครึ่ง (แต่ก็ฉีกยิ้มพยักหนักงึกๆตามภาษาคนไทยอัธยาศัยดี)

เอาจริงๆนะ รู้สึกเลยว่าภาษาคืออุปสรรคใหญ่หลวง

เรานึกถึงตอนที่พ่อเคยบอกเล่นๆว่า ไปอยู่อเมริกา อยู่ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเถียงชนะฝรั่งได้

เออ ความรู้สึกนี้เลย การศึกษาที่นี่ทำให้คนอเมริกันเป็นเจ้าแห่งความเห็น คือมีความเห็นกับทุกอย่าง ชอบไอ้นี่ ไม่ชอบไอ้นี่ คุณให้ยกมือถามก็จะแย่งกันถาม ไม่มีอะไรถามแต่อยากเล่าอะไรไม่รู้ก็ยกมือ

ซึ่งมันขัดกับสิ่งที่เด็กไทยอย่างเราถูกฝึกมาแต่เล็กกับการไม่ถาม ไม่ถก ตลกโปกฮาไปวันๆ

ด้วยความที่เป็นคนเดียวในทีมที่มีชื่อ MIT ติดอยู่ตรงป้ายชื่อ เอาวะ นึกถึงที่พี่ Oat เด็ก Sloan เคยบอกว่า “เห้ย มึงอย่าไปยอมฝรั่งสิ พูดแข่งกับมัน สู้กับมันหน่อย”

เออ พยายามพ่นเลย ซึ่งปรากฏเพื่อนๆบอกว่าไอเดียเราเป็นไอเดียที่ Strong ที่สุดจากทั้งหมดที่ generate มา

ว้ายเขิน แต่คือก็ยังถกสู้กับพวกมันไม่ไหวนะ เรารู้สึกว่าความคิดเราไม่ได้แพ้เลย แต่พอนึกอะไรออก เราต้องผ่านกระบวนการนึกคำอีกต่อนึง ทำให้เถียงสู้มันไม่ได้

รู้สึกอิจฉาเด็กอเมริกันเบาๆ ที่ได้ฝึก intellectual discussion มาตั้งแต่เด็กๆ เอาเถอะ สู้ต่อไป

หลังจากหมดครึ่งเช้าไปกับการ Interview และ Observe ช่วงบ่ายเรามีเวลา 2 ชม.ในการสรุปและสร้าง Prototype สำหรับ present

ด้วย Insight ที่เราได้ พบว่าผู้ป่วยอาการเลอะเลือนมักจะโดนมัดกับเตียงเพราะส่วนใหญ่มาพ่วงกับอาการเห็นภาพหลอน หวาดระแวง ซึ่งข้อดีของการมัดคือช่วยป้องกันไม่ให้คนไข้หนีหรือทำร้ายตัวเอง แต่มันเป็นผลทำให้อาการเลอะเลือนหนักขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งญาติที่มาเฝ้าคือ key สำคัญที่จะทำให้เราไม่ต้องมัดผู้ป่วย (แต่โดยส่วนใหญ่ญาติก็จะไม่อยากมา เพราะมันทรมานนะที่ต้องเสียเวลามาเฝ้า และคนไข้ที่มีอาการนี้ก็มักจะมีพฤติกรรมไม่ค่อยน่ารัก)

ร่วมทั้งใน case นี้ ส่วนใหญ่ญาติๆก็ไม่รู้ว่าอาการเลอะเลือน (Delirium) มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงหลังการผ่าตัดเหมือนกัน ทำไม่มีการเตรียมพร้อม และหมอก็มักจะลำบากใจที่จะเน้นตรงนี้ด้วยเพราะ การผ่าตัดหลายครั้งก็เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยสูงอายุ

สุดท้ายขอเสนอไอเดีย Community Space ในโรงพยาบาล

ให้ห้องรวมมีบรรยากาศเหมือนร้านกาแฟดีๆ มีปลั๊กไฟ Free Wifi และกาแฟขาย ซึ่งตัวร้านจะต่อกับห้องผู้ป่วยเรียงกันเป็นแถว ตัวห้องเป็นกระจกกันเสียงที่มีม่านรูด เพื่อทำให้ญาติที่อาจจะอยากไปนั่งพักข้างนอกยังสามารถมองเห็นผู้ป่วยได้

ห้องข้างนอกจะเป็นบรรยากาศแบบที่คนมาเฝ้าสามารถนั่งทำงานอ่านหนังสือ ทำให้รู้สึกว่าการมาเยี่ยมไม่ได้เสียเวลา เพราะคนปกติก็นั่งทำงานกันในร้านกาแฟอยู่แล้ว

รวมทั้งตัว Wifi พอ access เรียบร้อยจะมีหน้าต่าง Learning Center เด้งขึ้นมา
ญาติที่มาเฝ้าซึ่งอยู่ใน context นี่พอดีก็มีแนวโน้มจะกดดูวิดีโอเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดูแล รวมทั้งบรรยากาศใน Community Space ตั้งใจเอื้อให้คนที่มารอสามารถคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนและคลายความเครียดได้

โอ้โห ไอเดียเรานี่มันเจ๋งเป็นบ้าเลย (แต่ความยากน่าจะอยู่ที่งบ ความสะอาด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เลยพยายามเลี่ยงๆไม่พูดตอน present)

สุดท้ายการ prototype ก็ใช้วิธีการปั่น storyboard และวาดๆ floor plan เพราะมันเหลืออีก 10 นาที!!

การ Present ผ่านไปอย่างรวดเร็ว และด้วยความเหนื่อย+นอนดึกตื่นเช้ามาหลายวันติดต่อกัน หนังตามันก็หนักขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยความยังพอมีสติ เลยยัดลูกอมเปรี้ยวๆที่เตรียมมาเข้าปากเพื่อต่อเวลา พอลูกอมละลาย อัดเข้าไปอีกจึก
อัดเข้าไป อัดเข้าไป

อ่าวเวร หมดแล้ว

ตอนนี้รู้สึกเหมือนอุลตร้าแมนที่กำลังหมดเวลา ไฟตรงหน้าอกกระพริบๆ
ไม่นะ…. เราต้องสู้..ส…….ส………..ส

คร่อก

เออมาได้สติอีกทีตอนทุกกลุ่ม present กันเรียบร้อย ด้วยความที่มีเพื่อนดีทั้งนั้นเลยโดนถ่ายรูปประจานในกรุ๊ป

โถ ไอ้พวกงูพิษ

พอจบ Challenge กอดๆ ถ่ายรูปๆ กับทุกคนพอเป็นพิธี ชาวแก๊ง idm ก็ไปต่อคิวกิน Cheesesteak ของขึ้นชื่อในเมือง Philladephia ซึ่งถ้าให้เรียกง่ายก็คือ Hotdog เนื้อราดชีสอันบักเอ้กเท่านั้นเอง แต่คนมายืนต่อคิวกันยาวเหยียด และที่ตลกคือมันมีร้านดังสองร้านตั้งประจันหน้ากันอยู่คนละฝั่ง นอกจากป้ายชื่อร้านแล้ว layout ป้ายเป้ยเมนูนี่เหมือนกันเด๊ะ

เออ พวกเอ็งสมคบคิดกันแน่ๆ

ร้านนี้มีกฎว่า ถ้าถึงคิวแล้วสั่งผิดสั่งถูก ยึกยักชักช้า ไม่เป็นไร คุณแค่ได้สิทธิโดนไล่ไปต่อคิวใหม่…เท่านั้นเอง แสส
ด้วยความกลัวเข้าครอบงำ กระซิบ Jonathan สั่งให้หน่อยละกัน 555 ชิวจริงๆ

กินเสร็จมี Halloween Party ต่อ

ซึ่งไกลมากกกกกกกก ต้องกระเสือกกระสนนั่งรถไปกับเพื่อนอีกกว่าครึ่งชม. ก่อนไปฝากกระเป๋าไว้กับเพื่อนอีกแก๊งที่จะกลับโรงแรม ซึ่งไอ้เราก็ลืมเอา Passport ออกมาเก็บไว้กับตัว

ไปถึงมันคือบ้านของนักเรียนคนนึงซึ่งมีนักเรียนทั้งหมดอยู่ในนั้นประมาณ 30 คนอยู่กันเต็มจนไม่มีที่จะเดิน

และคือ Halloween Party ในอเมริกานี่คือทุกคนจริงจังมากทั้งชุดที่ประดิษฐ์เอง เบียร์ไม่อั้น

จนพอเริ่มดึก ตูก็เริ่มเสียวสันหลังนิดๆเพราะมีภาพจำมาจากในหนังว่า รำตวจ จะมาเคาะประตูบ้าน แล้วถ้าตูไม่มี Passport โชว์อายุนี่ โดนใส่กุญแจมือโยนใส่เรือเป็นโรฮิงญาแน่ๆ

หลังจากมันส์ + สังสรรค์พอเป็นพิธี ก็เดินทางกลับพร้อมร่างแหลกๆถึงโรงแรมโดยสวัสดิภาพ

เอวัง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

✈️ Kamin MIT Diary

บันทึกการเดินทางสมัยที่นายคามินเดินทางไปเรียนที่ MIT
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

🧠 The Second Brain

Method สำหรับ Personal Knowledge Management ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Series...

📚 กองดอง Book Review

รีวิวหนังสือแนะนำ

Latest Articles

มีบทความใหม่ทุกอาทิตย์ • ดูบทความทั้งหมด
เลือกดูเฉพาะหัวข้อเหล่านี้